วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าซุกจง


พระเจ้าซุกจงแห่งโชซอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าซุกจงแห่งโชซอน
พระบรมนามาภิไธยพระปรมาภิไธยลี ดน (이돈, 李焞)พระเจ้าซุกจง
พระอิสริยยศกษัตริย์แห่งเกาหลี
ราชวงศ์โชซอน
ครองราชย์ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720
ระยะครองราชย์46 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าฮยอนจง
รัชกาลถัดไปพระเจ้าคยองจง
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพค.ศ. 1644
สวรรคตค.ศ. 1720
พระราชบิดาพระเจ้าฮยอนจง
พระราชมารดาพระมเหสีมยองซอง
พระมเหสีพระมเหสีอินคยอง
พระมเหสีอินฮยอน
พระมเหสีอินวอน
พระราชโอรส/ธิดาพระเจ้าคยองจง
พระเจ้ายองโจ
    
พระเจ้าซุกจง (เกาหลี숙종ฮันจา: 肅宗MC: Sukjong, MR: Sukchong ค.ศ. 1661 - ค.ศ. 1720) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1720)
พระเจ้าซุกจงประสูติเมื่อ ค.ศ. 1661 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าฮยอนจง กับพระมเหสีมยองซอง ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ชายรัชทายาทเมื่อ ค.ศ. 1667 ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1674 พระนางอินซอน พระมเหสีของพระเจ้าฮโยจง สิ้นพระชนม์ จึงเกิดข้อถกเถียงกันเรื่องการใส่พระภูษาไว้ทุกข์ของพระนางจางรยอล พระมเหสีของพระเจ้าอินโจ ขึ้นอีกครั้ง เรียกว่า ความขัดแย้งเรื่องพิธีปีคาบิน (갑인예송, 甲寅禮訟) พระเจ้าฮยอนจงทรงเลือกที่จะทำตามข้อเสนอของขุนนางฝ่ายใต้ นำโดยฮอมก (허목, 許穆) ซึ่งเสนอให้นางจางรยอลไว้ทุกข์แบบแทกง (대공, 大功 9 เดือน พระภูษาหยาบ) ทำให้ฝ่ายใต้ขึ้นมามีอำนาจแทนฝ่ายตะวันตก ซึ่งมีอำนาจอยู่ก่อนหน้า[1]
ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าฮยอนจงสวรรคต พระเจ้าซุกจงจึงทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ รัชกาลของพระเจ้าซุกจงเป็นสมัยที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่างๆของขุนนางดุเดือดที่สุด เรียกได้ว่าไม่มีเลยสักวันเดียวในรัชสมัยของพระองค์ที่จะปราศจากการทุ่มเถียงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ขณะที่ฝ่ายใต้มีอำนาจ ฝ่ายตะวันตกก็ถูกกีดกันออกจากราชการกันเป็นส่วนใหญ่ แต่แล้วเมื่อ ค.ศ. 1680 ปรากฏมีขุนนางฝ่ายใต้คิดก่อการกบฎยกให้องค์ชายพงซอน (복선군, 福善君) ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพระเจ้าซุกจง ทำให้ฝ่ายใต้ถูกกวาดล้างหลังจากอยู่ในอำนาจได้เพียงเจ็ดปีและฝ่ายตะวันตกก็เข้ามามีอำนาจแทน เมื่อปีเดียวกันนั้น พระมเหสีของพระเจ้าซุกจงสิ้นพระชนม์ ฝ่ายตะวันตกจึงส่งบุตรสาวจากตระกูลมินแห่งยอฮึงเข้าไปเป็นพระมเหสีองค์ใหม่ ภายหลังได้รับพระนามพระมเหสีอินฮยอน (인현왕후, 仁顯王后) ในค.ศ. 1683 ซงชียอลเกิดความขัดแย้งกับลูกศิษย์ของตนเอง คือ ยุนจึง (윤증, 尹拯) ทำให้ฝ่ายตะวันตกแตกออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักปราชญ์อาวุโส เรียกว่า โนนน (노론, 老論) ของซงชียอล และกลุ่มนักปราชญ์อายุน้อย เรียกว่า โซนน (소론, 少論) ของยุนจึง
แต่ต่อมาพระเจ้าซุกจงกลับไปโปรดปรานจางซังกุง ซึ่งมาจากตระกูลต่ำเดิมเป็นนางรับใช้ของพระนางจางรยอล และเป็นตัวแทนของขุนนางฝ่ายใต้ ภายหลังได้รับการแต่งตั้งขึ้นป็นพระสนมจาง ในค.ศ. 1688 ก็มีพระโอรสให้กับพระเจ้าซุกจง ซึ่งพระเจ้าซุกจงหมายจะแต่งตั้งให้เป็นองค์ชายรัชทายาท (ภายหลังเป็นพระเจ้าคยองจง) สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตก ฝ่ายตะวันตกพยายามจะคัดค้านขณะที่ฝ่ายใต้ก็สนับสนุนให้แต่งตั้งองค์ชายรัชทายาท พระเจ้าซุกจงทรงแต่งตั้งพระสนมจางเป็นพระสนมฮีบิน (희빈, 禧嬪) ในค.ศ. 1689 ซึ่งเป็นตำแหน่งพระสนมสูงสุด ซงชียอลได้ทูลคัดค้านขอให้พระเจ้าซุกจงทรงล้มเลิกการแต่งตั้งองค์ชายรัชทายาทลงและให้เป็นองค์ชายธรรมดา ขุนนางฝ่ายใต้จึงยุยงให้พระเจ้าซุกจงทรงประหารชีวิตซงชียอล เนรเทศกำจัดขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปจากราชสำนัก รวมทั้งปลดพระมเหสีอินฮยอนขับไปนอกวัง และตั้งพระสนมฮีบินขึ้นเป็นพระมเหสีแทน เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคีซา (기사환국, 己巳換局) เหตุการณ์นี้ทำให้ฝ่ายใต้กลับเข้ามามีอำนาจอย่างเต็มทีและฝ่ายตะวันตกถูกกำจัดออกไป องค์ชายรัชทายาทได้รับการแต่งตั้งต่อมาในค.ศ. 1690
แต่ต่อมาพระเจ้าซุกจงกลับทรงรู้สึกผิด ในค.ศ. 1694 ขุนนางฝ่ายตะวันตกถวายฎีกาขอให้พระเจ้าซุกจงทรงดูแลอดีตพระมเหสีอินฮยอนให้ดีขึ้น พระเจ้าซุกจงจึงให้อดีตพระมเหสีอินฮยอนกลับเข้ามาอยู่ในพระราชวังชางด็อกแล้วก็ทรงเปลี่ยนพระทัยคืนตำแหน่งให้กับพระมเหสีอินฮยอน และให้พระมเหสีจางอ๊กซานกลับไปเป็นพระสนมฮีบินตามเดิมและไปอยู่ที่พระราชวังชางคยอง เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคัปซุล (갑술환국, 甲戌換局) ขุนนางฝ่ายใต้ถูกกวาดล้างอีกครั้งต่างถูกเนรเทศไปตามที่ต่างๆ โดยที่ฝ่ายตะวันตกกลับขึ้นมามีอำนาจแทน แต่แล้วเมื่อค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮยอนก็สิ้นพระชนม์ และก็พบว่าพระสนมฮีบินทรงใช้นางร่างทรงเพื่อทำการสาปแช่งพระมเหสี พระสนมฮีบินจึงถูกสำเร็จโทษไป
นับแต่นั้นมาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายใต้และฝ่ายตะวันตกจึงจบลง ปลายรัชสมัยของพระเจ้าซุกจงนั้นค่อนข้างสงบสุข แต่พร้อมที่จะปะทุในเวลาอันใกล้เพราะขุนนางฝ่ายโนนนและโซนนกำลังจะเผชิญหน้ากัน ด้วยเรื่องการสืบราชสมบัติ ฝ่ายโซนนสนับสนุนองค์ชายรัชทายาท ขณะที่ฝ่ายโนนนยังคงยืนกรานความคิดเห็นของฝ่ายตะวันตกในทีแรกว่า ไม่ควรตั้งพระโอรสที่เกิดแต่พระสนมฮีบินเป็นรัชทายาท จึงหันไปสนับสนุนองค์ชายยอนอิง (연잉군, 延礽君 ซึ่งเป็นพระโอรสกับพระสนมซุกบินแห่งตระกูลแช ภายหลังเป็น พระเจ้ายองโจ) ซึ่งพระสนมซุกบินเป็นที่โปรดปรานทั้งพระเจ้าซุกจงและพระมเหสีอินฮยอน ทำให้พระสนมซุกบินเป็นที่รักใคร่ของคนทั้งวัง
เมื่อค.ศ. 1718 พระเจ้าซุกจงทรงตั้งองค์ชายรัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระเจ้าซุกจงสวรรคตเมื่อค.ศ. 1720

[แก้]พระนามเต็ม

สมเด็จพระราชา ซุกจง ฮยอนอึย ควางยุน เยซอง ยองรยอล ยูโม ยอนกุน ฮงอิน จุนด็อก แบชอน แฮบโด คเยฮยู ด๊กคยอง จองจุง ฮยอปกุก ซินอึย แดฮุน จางมุน ฮอนมู คยองมยอง วอนฮโย แห่งเกาหลี

[แก้]พระบรมวงศานุวงศ์

  • พระราชบิดา: พระเจ้าฮยอนจง (현종, 顯宗)
  • พระราชมารดา: สมเด็จพระราชินีมยองซอง ตระกูลคิม แห่งชองพุง (명성왕후 김씨) หรือ พระนางฮยอนยอง พระพันปีหลวง (현렬왕대비, 顯烈王大妃)
พระมเหสี
  • สมเด็จพระราชินีอินคยอง ตระกูลคิม (인경왕후 김씨, 仁敬王后 金氏)
  • สมเด็จพระราชินีอินฮยอน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง (인현왕후 민씨, 仁顯王后 閔氏)
  • สมเด็จพระราชินีอินวอน ตระกูลคิม แห่งคยองจู (인원왕후 김씨, 仁元王后 金氏)
พระสนม
  • พระสนมฮีบิน ตระกูลจาง แห่งอินดง (희빈 장씨, 禧嬪 張氏) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระนางอ็กซาน
  • พระสนมซุกบิน ตระกูลแช แห่งแฮจู (숙빈 최씨, 淑嬪 崔氏) ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระนางซอนฮวาคยอง
  • พระสนมมยองบิน ตระกูลปาร์ค แห่งมิลยาง (명빈 박씨)
  • พระสนมยองบิน ตระกูลคิม (영빈 김씨)
  • พระสนมควีอิน ตระกูลคิม (귀인 김씨)
  • พระสนมโซอึย ตระกูลยู (소의 유씨)
  • พระสนมโซอึย ตระกูลแช (소의 최씨)
พระราชโอรส
พระราชธิดา
  • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม พระราชธิดาของพระมเหสีอินคยอง ตระกูลคิม
  • องค์หญิงไม่ทราบพระนาม พระราชธิดาของพระมเหสีอินคยอง ตระกูลคิม

[แก้]